ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง (สจล.) ในฐานะรองหัวหน้าโครงการรถไฟไทยทำ หรือการผลิตรถไฟโดยสารต้นแบบ เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทดสอบรถไฟไทยทำ ที่ใช้ชื่อว่า “สุดขอบฟ้า (Beyond Horizon)” ร่วมกับ ฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยได้เริ่มการทดสอบบางส่วนบ้างแล้ว อาทิ การทดสอบสมรรถนะตัวรถเชิงสถิตย์ ระบบการทำงานของเบรก และขอพ่วง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เป็นไปมาตรฐานของ รฟท. ยังต้องมีการทดสอบการทำขบวนเดินรถด้วยความเร็วในการให้บริการเสมือนจริงในเส้นทางทดสอบที่ รฟท. จะเป็นผู้กำหนดด้วย
ผศ.ดร.รัฐภูมิ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาเป็นการทดสอบภายในพื้นที่โรงงานประกอบรถไฟ ที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มีทั้งการทดสอบแบบรถไม่เคลื่อนที่ และรถเคลื่อนที่ ผลการทดสอบผ่านทุกการทดสอบ หลังจากนี้จะนำไปทดสอบเดินรถบนทางรถไฟ และเส้นทางรถไฟจริง ในเส้นทางระยะกลางประมาณ 500 กิโลเมตร (กม.) ในเส้นทางทดสอบที่ รฟท. จะเป็นผู้กำหนดก่อน หากผลการทดสอบราบรื่น ไม่เกิดปัญหา ตลอดจนเป็นไปตามข้อกำหนด และมาตรฐานด้านความปลอดภัยของ รฟท. คาดว่าจะสามารถส่งมอบรถไฟไทยทำให้ รฟทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ได้ประมาณเดือน ก.ย. 66 เพื่อนำไปให้บริการประชาชนร่วมกับขบวนรถไฟของ รฟท. ต่อไป
ผศ.ดร.รัฐภูมิ กล่าวอีกว่า รถไฟไทยทำ เป็นตู้โดยสารต้นแบบคันแรกของไทย ตามโครงการ “ไทยเฟิร์ส” ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน ที่สนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศ (Local Content) และลดนำเข้าเทคโนโลยี มีรหัสรุ่นคือ TMT-PC-BH001 ทีมวิจัยออกแบบตัวรถเองทั้งหมด ได้แรงบันดาลใจจากที่นั่งในเครื่องบินชั้นธุรกิจ และชั้นเฟิร์สคลาสในรถไฟความเร็วสูง มีความยาว 24 เมตร กว้าง 2.80 เมตร มีที่นั่ง 25 ที่ ประกอบด้วย ชั้น Super Luxury 8 ที่นั่ง และชั้น Luxury 17 ที่นั่ง ทุกที่นั่งมีจอภาพส่วนตัวสำหรับให้บริการด้านความบันเทิง และสั่งอาหาร มีพนักงานเสิร์ฟหุ่นยนต์นำอาหารมาส่งถึงที่นั่ง นอกจากนี้ยังมีระบบห้องน้ำสุญญากาศ และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งทางขึ้นรถไฟที่ได้รับการออกแบบเพื่อรองรับการใช้งานของผู้พิการ ส่วนราคาค่าโดยสารนั้น คาดว่าจะใกล้เคียงกับตั๋วแบบนอนของ รฟท.
ผศ.ดร.รัฐภูมิ กล่าวด้วยว่า โครงการนี้สามารถสร้างรถไฟโดยสารต้นแบบ พร้อมอุปกรณ์ที่สนับสนุน Local Content มากกว่า 40% ของมูลค่าสินค้ากรณีรวมแคร่รถไฟ แต่หากคิดเฉพาะตู้โดยสารพร้อมอุปกรณ์ประกอบ ไม่รวมแคร่รถไฟจะมี local content สูงกว่า 70% อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ใช้งบประมาณในการวิจัยเฉพาะการพัฒนารถ รวมแคร่ และงานระบบ ประมาณ 32 ล้านบาท โดยได้รับสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกับบริษัท กิจการร่วมค้าไซโนเจน-ปิ่นเพชร จำกัด
ผศ.ดร.รัฐภูมิ กล่าวอีกว่า ผลงานชิ้นนี้คุ้มค่ากว่าการนำเข้าจากต่างประเทศมาก นอกจากนี้ยังได้พัฒนาตัวรถให้มีน้ำหนักที่เบาลง จากการออกแบบด้วยระบบ Space Frame Modular Concept และแคร่รถไฟที่ทำความเร็วได้ถึง 120 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง (ชม.) ซึ่งได้จดทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากโครงการแล้ว 7 ผลงาน และยังมีผู้ประกอบการที่สามารถผลิต และประกอบชิ้นส่วนในประเทศมากกว่า 10 บริษัท เข้าร่วมโครงการ จึงเป็นการช่วยสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมการผลิตรถขนส่งทางราง และสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมระบบรางตลอดห่วงโซ่การผลิตคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ผศ.ดร.รัฐภูมิ กล่าวต่อว่า สำหรับเสียงสะท้อนว่ากรอบหน้าต่างมีขนาดใหญ่เทอะทะนั้น ได้ต้นแบบมาจากรถไฟความเร็วสูง ไม่ได้บดบังทัศนียภาพแต่อย่างใด ขณะที่ทางเดินกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร เท่ามาตรฐานปกติ ลากกระเป๋าผ่านได้ อย่างไรก็ตาม การพัฒนารถต้นแบบอยู่ภายใต้ข้อจำกัดทั้งงบประมาณ และเวลา หากนำไปผลิตใช้จริงในจำนวนมากๆ ก็สามารถนำไปปรับให้เหมาะสมต่อไปได้ ส่วนเรื่องกูบ หรือแผ่นเชื่อมต่อแต่ละขบวนที่มีเสียงสอบถามมามากนั้น เนื่องจากยังไม่ทราบว่า รฟท. จะนำตู้รถไฟดังกล่าวไปทำขบวนอะไร จึงจะให้ รฟท. เป็นผู้ดำเนินการส่วนนี้เอง
ด้าน รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มระบบคมนาคมแห่งอนาคต บพข. ในฐานะผู้สนับสนุนทุนวิจัยกล่าวว่า ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ บพข. คาดหวังให้ประสบความสำเร็จ เพราะคนไทยรอให้ประเทศไทยมีรถไฟที่ทันสมัยแบบนี้มานานแล้ว และโครงการนี้ยังเป็นตัวอย่างที่ดีว่าคนไทยสามารถทำได้ และเชื่อว่าองค์ความรู้ รวมถึงความสามารถของคนไทย ไม่ได้ด้อยกว่าคนอื่น เพียงแค่เอกชนไทยทุกวันนี้ ยังขาดโอกาสเท่านั้น.