พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ อดีต ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เปิดเผยกับทีมข่าวพีพีทีวี พูดถึงช่องโหว่ของกระบวนการชันสูตรศพในไทย บอกว่า ปัจจุบันกฎหมายไม่ได้บังคับ ให้ต้องผ่าพิสูจน์ทุกศพที่ “ตายผิดธรรมชาติ” โดยให้เป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวน ซึ่งกรณีที่เกี่ยวข้องกับ “แอม” หมอพรทิพย์ มองว่า เข้าข่ายนี้ เพราะ “ตายโดยไม่ปรากฎเหตุ”คำพูดจาก เว็บตรง
เปิดใจ “กอล์ฟ” ยันไม่ได้ร่วมมือแอม วางยา “แด้”
“แอม” ปรับตัวได้ดีขึ้น หลังนอนคุก 2 คืน ยังไร้ญาติเข้าเยี่ยม
แต่สิ่งที่มีการกำหนดไว้ คือ เมื่อพนักงานสอบสวนพบการตายผิดธรรมชาติ จะต้องตามแพทย์ไปดูที่พบศพ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์นิติเวช และยังมีบทเฉพาะกาลที่แพทย์สามารถมอบใครไปก็ได้ เมื่อแพทย์ไปถึงที่เกิดเหตุ พนักงานสอบสวนก็จะฟังแพทย์และญาติ ก่อนใช้ดุลพินิจว่าจะส่งศพผ่าพิสูจน์หรือไม่ ทำให้ไม่ใช่ทุกศพที่ตายผิดธรรมชาติจะได้รับการผ่าพิสูจน์ ซึ่งปัจจุบันต่างประเทศส่วนใหญ่จะไม่ให้ฟังญาติ หากดูมาเลเซียและสิงคโปร์ จะมีมาตรฐานชัดเจน ระบุชัดว่าตายอย่างไรต้องผ่าพิสูจน์บ้างแม้จะนับถือมุสลิม แต่มีไม่กี่ประเทศ เช่น ไทย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ที่ยังไม่มีมาตรฐานชัดเจน
นอกจากปัจจัยเรื่องข้อกฎหมาย งบประมาณก็เป็นช่องโหว่ โดยหมอพรทิพย์ บอกว่า ปัจจุบันยังไม่มีเจ้าภาพจัดสรรงบประมาณสำหรับการส่งศพไปผ่าพิสูจน์ ทำให้เมื่อพนักงานสอบสวน จะส่งศพไปผ่า ต้องออกเงินค่าส่งศพเอง ซึ่งบางครั้งในจังหวัดที่พบศพไม่มีแพทย์นิติเวช ต้องส่งข้ามจังหวัด ค่าใช้จ่ายก็สูงตาม ทำให้ต้องใช้วิธีถามญาติ ถ้าญาติไม่ติดใจก็ไม่ส่งผ่าพิสูจน์
หมอพรทิพย์ ยังบอกอีกว่า แม้ปัจจุบันจำนวนแพทย์นิติเวชในไทยจะยังมีไม่เพียงพอ แต่ก็เพียงพอในการจัดระเบียบ เพราะมีจำนวนมากกว่า 20 ปีที่แล้ว และเป็นสาขาที่มีบุคลากรมากสุดในกระทรวงสาธารณสุขเทียบกับแพทย์สาขาอื่นๆ จึงมองว่าถึงเวลาที่ต้องมีหน่วยงานเจ้าภาพ เช่น กระทรวงยุติธรรม เข้ามาจัดระเบียบ วางมาตรฐานให้ชัดเจน เพราะอย่างเคสไซยาไนด์ที่เกิดขึ้น หากได้รับการผ่าพิสูจน์ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะนำไปสู่การป้องกันเหตุ หรือสืบหาต้นตอของไซยาไนด์ได้