รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมที่จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติงบกลางรายการสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินและจำเป็นเร่งด่วน พ.ศ. 2566 เพื่อเป็นวงเงินเพิ่มเติมในการส่งเสริมมาตรการรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ตามมาตรการ อีวี 3.0 ที่อุดหนุนส่วนลดในการซื้อรถอีวี ไม่เกินคันละ 150,000 บาท หลังจากวงเงินที่ ครม. ได้อนุมัติไปก่อนหน้านี้ประมาณ 3,000 ล้านบาท เพื่อใช้อุดหนุนราคาจำหน่ายรถอีวีในประเทศให้ถูกลง กำลังจะหมดลงในภายในเดือน ก.ย. นี้
ทั้งนี้ เมื่อเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. แล้วหาก ครม. ให้ความเห็นชอบก็ต้องส่งเรื่องต่อไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อขออนุมัติ ซึ่งแนวโน้มที่ กกต. จะอนุมัติก็มีความเป็นไปได้ เนื่องจากมาตรการนี้เป็นมาตรการที่มีความต่อเนื่องไม่ใช่มาตรการหรือโครงการใหม่ที่จะกระทบการบริหารงานของรัฐบาลหน้า
“มาตรการ อีวี 3.0 จะหมดอายุในวันที่ 31 ธ.ค. 2566 แต่วงเงินที่ใช้ในการอุดหนุนส่วนลดในการซื้อรถอีวีจะหมดลงตั้งแต่เดือน ก.ย. เนื่องจากก่อนหน้านี้ มีประชาชนสนใจซื้อรถอีวีเป็นจำนวนมาก ทำให้เงินอุดหนุนไม่เพียงพอจะใช้ไปจนถึงสิ้นปี 66 ได้จึงต้องขอ ครม. อนุมัติวงเงินจากงบกลางฯ บางส่วนมาสนับสนุนเพื่อให้ดีมานด์ของการซื้อรถอีวีของประชาชนไม่สะดุด”
สำหรับมาตรการสนับสนุนการใช้ และผลิตรถอีวีที่เป็นชุดมาตรการต่อเนื่องจากมาตรการเดิมในชุด มาตรการ อีวี3.5 ที่มีทั้งการอุดหนุนส่วนลดให้กับผู้ซื้อรถอีวีคันละไม่เกิน 100,000 บาท รวมทั้งมาตรการสนับสนุนทางการเงินให้แก่บริษัทที่จะลงทุนในโรงงานผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์อีวีในประเทศไทย แหล่งข่าวกล่าวว่า จะต้องรอให้รัฐบาลใหม่เข้ามาพิจารณา โดยคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) เตรียมจะเสนอแพ็กเกจนี้ให้ ครม. ชุดใหม่พิจารณาเห็นชอบ เพื่อเป็นมาตรการที่จะส่งเสริมการใช้และผลิตรถอีวีในประเทศไทยต่อไป
นางณัฐฏ์จารี อนันตศิลป์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กล่าวว่า การเสนอเรื่องขอเงินสนับสนุนรถอีวีเพิ่มเติมโดยขอจากงบกลางฯ หากเข้ามาสู่การประชุมของ ครม. แล้วผ่านความเห็นชอบ ต้องเสนอไปยัง กกต. เพื่อพิจารณาด้วยเช่นกัน โดยสิ่งที่ กกตคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. จะพิจารณาก็คือเรื่องที่เสนอไปเป็นเรื่องที่ ครม. รักษาการสามารถทำได้หรือไม่ โดยหากขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 169 (1) ส่วนใหญ่ กกต. จะไม่อนุมัติเนื่องจากผูกพันไปถึงรัฐบาลหน้า
ซึ่งกฎหมายกำหนดไม่ให้รัฐบาลรักษาการกระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อ ครม. ชุดต่อไป เว้นแต่ที่กำหนดไว้แล้วในงบประมาณรายจ่ายประจำปี ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจาก กกต. ก่อน รวมทั้งไม่แต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำหรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือพ้นจากตำแหน่ง หรือให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจาก กกตคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ก่อนเช่น
กัน
อย่างไรก็ตามแหล่งงบประมาณที่ใช้ในการสนับสนุนมาตรการ อีวี 3 ในปีงบประมาณ 2567-2568 นั้น คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ เห็นว่า ยังไม่สามารถนำเงินจากกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย และกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มาใช้ดำเนินมาตรการได้ เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องขอบเขตและวัตถุประสงค์ ของการใช้เงินกองทุน ดังนั้น จึงขอให้กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพสามิต พิจารณาเสนอขอรับการจัดสรร งบประมาณประจำปี 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ไปพลางก่อน
ขณะที่ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2566 ได้รับทราบว่า ที่ประชุมครม. เมื่อต้นปี 2565 ได้รับทราบแนวทาง การดำเนินนโยบายสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (อีวี3) และเห็นชอบในหลักการการจัดหาแหล่งงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2568 วงเงิน 40,000 ล้านบาท จากแหล่งงบประมาณที่เหมาะสม และการขอใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 3,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการมาตรการ อีวี 3 นั้น กรมสรรพสามิตได้รายงานว่า มีจำนวนผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่ ลงนามข้อตกลงเข้าร่วมมาตรการ รวม 12 ราย แบ่งเป็น ผู้ประกอบการรถยนต์ 9 ราย และผู้ประกอบการ รถจักรยานยนต์ 3 ราย
โดยมีปริมาณของรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ที่ขอรับสิทธิในปี 2565 รวมทั้งสิ้น 39,722 คัน แบ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้า รวม 35,322 คัน และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รวม 4,400 คัน โดยงบประมาณจำนวน 3,0000 ล้านบาท จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดังกล่าว สามารถรองรับการดำเนินมาตรการ EV 3 ได้ภายในปีงบประมาณ 2566 หรือถึงเดือน ก.ย. ปี 2566 เท่านั้น
สำหรับแหล่งงบประมาณที่ใช้ในการสนับสนุนมาตรการ อีวี 3 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2568 นั้น คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ เห็นว่า ยังไม่สามารถนำเงินจากกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย และกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มาใช้ดำเนินมาตรการได้ เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการใช้เงินกองทุน ดังนั้น จึงขอให้กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพสามิต พิจารณาเสนอขอรับการจัดสรร งบประมาณประจำปี 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ไปพลางก่อน