กลายเป็นดราม่าวงการการศึกษาไทยในทันที เมื่อครูสาวคนหนึ่งออกมาโพสต์ระบายผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงปัญหาที่เจอในการสอนหนังสือ พร้อมระบุว่า เด็กนักเรียนบางคนไม่มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ไม่มีความรับผิดชอบ มารยาทติดลบ ตนพร้อมสนับสนุนให้โรงเรียนประกาศนโยบายเรียนซ้ำชั้น อย่าปล่อยให้เด็กพูดต่อหน้าครูว่า “ไม่ทำ ไม่ส่ง เพราะยังไงก็ผ่านอยู่แล้ว” คนเป็นครูน้ำตาตกใน ดิ่งขั้นสุด ไฟมอดดับลงทุกวันคำพูดจาก เล่นสล็อตเว็บตรงที่ดีที่สุด
เจาะลึกปัญหา "ครูเวร" มีผลกระทบ-แก้ไขอย่างไรได้บ้าง?
ย้ายโรงเรียนเถอะ ผู้ปกครองหัวจะปวด ครูสอนลูก “Major” แปลว่า “โรงหนัง”
โดยใจความหลัก ๆ ของโพสต์ได้ตัดพ้อถึงปัญหาของการศึกษาไทยที่ในปัจจุบันมีการโอ๋เด็กมากเกินไป เมื่อเด็กหลายคนเจอครูใจดีจึงไม่มีความเกรงใจครูและคิดว่าจะเรียนยังไงก็ได้ ยังไงครูก็ให้ผ่านอยู่แล้ว ทางครูสาวจึงได้ออกมาโพสต์ระบายว่า “รู้ไหมว่าสิ่งที่นักเรียนบางคนทำ (ย้ำว่าบางคน) มันบั่นทอนความเป็นครูมากแค่ไหน นอกจากไม่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ไม่คิด ไม่อ่าน ไม่มีความเพียรแล้ว ระเบียบวินัยก็ไม่ผ่าน ความรับผิดชอบก็ไม่มี มารยาทก็ติดลบ แบบนี้จะเรียกตัวเองว่า นักเรียน ได้ยังไง”
หลังจากนั้น โพสต์เฟซบุ๊กดังกล่าวมีคนเข้ามากดแชร์กันอย่างต่อเนื่องจนตอนนี้ไปไกลถึงเกือบ 3 หมื่นและยังมีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นอีกเกือบ 3 พันคน (4 มี.ค.67) นอกจากข้อความในโพสต์แล้ว ทางครูสาวยังแนบรูปตัวอย่างผลงานของนักเรียนไว้ให้ดูด้วย
จะเห็นได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้นเป็นลายมือที่เราอ่านได้ค่อนข้างยาก ทำให้ชาวเน็ตที่กดเข้ามาดูต่างก็เข้าไปคอมเมนต์ใต้รูปกันมากมายส่วนใหญ่จะบอกว่าเห็นใจในสิ่งที่เจ้าของโพสต์ต้องเจอ บางส่วนก็สนับสนุนให้มีนโยบายการเรียนซ้ำชั้น และบางส่วนก็บอกว่าการเป็นครูในปัจจุบันไม่ง่ายเลย
นอกจากทางโพสต์ดังกล่าวแล้ว ในคอมเมนต์ยังมีผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ทำอาชีพครูได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นพร้อมแนบภาพผลงานนักเรียนที่ตนเองก็เคยเจอเหมือนกันให้ดูด้วย
และทางครูสาวได้ตัดพ้อทิ้งท้ายไว้ว่า “เกาให้ถูกที่คัน ไม่ใช่สรรหาแต่คำมาบั่นทอนครูผู้สอน #ผู้ปกครองร้องเรียน บ้างหละ #ครูไม่ใส่ใจ บ้างหละ #ครูไม่ติดตามเด็ก บ้างหละ ยกเด็กขึ้นหิ้ง แล้วเหยียบครูให้จมดิน #การศึกษาไทย”
ผลบอลพรีเมียร์ลีก แมนซิตี้ แซงชนะ แมนยู 3-1 โฟเด้น เบิ้ล
“โยเกิร์ต” มูฟออน! ลบเกลี้ยงทุกอย่างเกี่ยว “พีเค” ด้านนางแบบเวียดนามเคลื่อนไหว หลังถูกเอี่ยวดราม่า
กยศ.คืนเงินลูกหนี้ 3,494 ราย 97 ล้านบาท หลังใช้เกณฑ์คำนวณหนี้ใหม่